ว่าด้วยเรื่อง intrend
Intrend จำเป็นจริงหรือ ก่อนที่จะว่ากันต่อไป
ก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมบล็อกของผู้เขียน
และขอน้อมรับทั้งคำติชมอย่างเต็มใจ และก็ขออภัยที่ห่างหายไปนาน
เพราะช่วงที่ผ่านมายุ่ง ๆ กับเรื่องการเมือง(ไม่เกี่ยว) ยุ่งวุ่นวายกับเรื่องงาน
จนไม่มีเวลามาเขียนต่อ แต่ยังไงก็ตามช่วงนี้จะพยายามเขียนให้ต่อเนื่องอย่างน้อยอาทิตย์ละบทความ
ซึ่งผู้เขียนก็คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะเขียนเรื่องอะไรต่อดี จะว่าด้วยการวาง concept จะดีมั๊ย แต่ก็มาฉุกคิดกับคำว่า in trend ไม่ว่าจะเป็นวงการไหนก็ต้องมีคำว่า in trend ตั้งแต่ วงการละคร หนัง เพลง
หรือไม่ก็หนังสือ รวมทั้งวงการ fashion เพราะถ้าไม่ in trend ก็จะ out trend ในทันที
กลายเป็นมนุษย์ไดโนเสาร์ไปเลย
อย่างช่วงนี้ถ้าเป็นผู้ชายก็จะเป็นกางเกงแบบรัดฟิตเปรียะ
รองเท้าก็ต้องปลายแหลมยาวซะ ถ้าหุ่นเหมือนนายแบบหรือเป็นดาราอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากเป็นหุ่นประเภท เตี้ย ล่ำ ดำ สิว
ก็อย่าดีกว่าเพราะมันไม่ใช่แล้ว ถ้าหากเป็นผู้หญิงก็ประเภทเสื้อรัดติ้ว กระโปรงฟิต
ถ้าประเภทขาว หุ่นบอบบางก็พอได้หรอก แต่หากเป็นอ้วน และหรือประเภทเตี้ยระหงษ์
ขาพอเทียบได้กับขาโต๊ะสนุ้กเกอร์ล่ะก็ อย่าพยายาม in trend เลยดีกว่า สู้แต่งตาม style ที่เข้ากับตัวเราจะดีกว่า
ใครจะมาว่า out ยังไงก็ช่าง บอกไปเลยว่า ชั้นสวย หล่อในแบบของชั้น จะดีกว่า
ทำไมต้องหมุนตามโลกด้วย เข้าประเภท be myself การที่ทุกวงการเดินตามกระแส in trend ตลอดเวลา
นัยว่าหากไม่ได้อยู่ในรถไฟขบวนนี้จะไปไม่ถึงฝั่ง ยังไงยังงั้น จนกลายเป็นว่า ทั้ง concept รูปแบบ สีสัน
โครงสร้างผ้าแทบจะเป็นรูปแบบเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็นตลาดบนตลาดล่าง
เวลาเดินเข้าห้าง ถ้าไม่ดูป้ายร้าน ไม่ดูยี่ห้อ ลองมองไปรอบ ๆ ตัว
ก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย จะต่างก็คุณภาพวัตถุดิบ
และความประณีตของแต่ละยี่ห้อ
และราคาเท่านั้น
แต่ว่ารูปแบบและสีสันแทบจะไม่แตกต่างกันเลยจนบางครั้งผู้เขียนคิดไปว่า
มันจำเป็นจริง ๆ หรือเปล่าที่เราจะต้อง in trend เพราะหากมากไป
ตัวตนของคุณก็จะหายไป
หลาย ๆ brand ที่ตอนเปิดตัวก็จะมี concept เป็นตัวของตัวเองเพราะกว่าจะสร้าง brand ใหม่แต่ละ brand ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นไป
ผ่านการคิดกลั่นกรองจนตกผลึก แล้วจึงจะสรุปได้ว่า มีหลาย brand ที่ตอนเปิดตัวทำเอาตลาดฮือฮา
เรียกได้ว่าเป็นดาวดวงใหม่แห่งวงการแฟชั่นเลยทีเดียว พอผ่านไปสัก 4 – 5
collection ก็เริ่มอับแสงไปซะดื้อ ๆ บาง brand ตอนเปิดตัว เป็น style วัยรุ่น
แต่พอนานไปกลับกลายเป็นว่ายิ่งออกแนวแก่ไปทุก ๆ ปี จนกลายเป็น brand สำหรับผู้ใหญ่ เหตุผลนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะตัว designer เองที่เริ่มแก่ตัวก็ดี หรือ เจ้าของ brand เริ่มอายุมากขึ้นก็ดี
หรือว่าต้องการ in trend จนทำให้ concept เปลี่ยนไปจากเดิม
จนเหมือนว่าเป็นคนละ brand ไปเลย ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบหลังมากกว่าที่ทำให้ brand นั้นต้องอับแสงลงไป และ local brand ส่วนใหญ่ในเมืองไทยก็จะเป็นแบบนี้ซะมากคือหลง
concept ของตัวเอง
เพราะมัวแต่มองคนอื่นมัวแต่มองเรื่อง in trend ซะมาก หากเปรียบเทียบกับ brand inter ที่มีอยู่ในบ้านเรา
บางรายมีอายุไม่ต่ำกว่า ยี่สิบสามสิบปี กลับยังคง ยืนหยัดฝ่ากระแสของพายุ in trend มาได้โดยที่ยังคงรักษา concept ของตัวเองมาได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนทุกวันนี้
ไม่ได้เปลี่ยนตัวเองไปตามกระแส จนลืมความเป็นตัวเองไป และที่สำคัญก็ไม่ตกยุค
เพราะว่าเขาให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และ concept ที่วางไว้ก่อนเริ่มสร้าง brand ขึ้นมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสินค้า
in trend เอาซะเลย เขาจะมีประมาณไม่เกิน 20 % ของจำนวนสินค้าที่ผลิต
แต่เป็นเหมือนตัวดึงดูดให้กลุ่มคนที่สนใจใน trend ให้เข้ามาดูสินค้าเขา แต่ว่าตัว basic ของเขาจริง ๆ
ก็ยังคงทำออกมาขายเหมือนเดิม แต่หากเป็น local brand ของเรา จะให้ความสำคัญกับพวก in trend ไปซะเยอะ ประมาณ 60 -70 % ได้ จนกลบความเป็นตัวเอง กลบ concept ของ brand ตัวเองไปหมด มีหลาย brand ที่เปิดตัวสองสามปีแรกทำยอดขายได้ดีมาก
แต่เพราะมัวแต่วิ่งตามกระแส จนหมดแรง บางรายก็ยังได้อยู่แต่ก็อ่อนแรงไปมาก
แต่บางรายที่ร้ายหน่อยก็หายไปจากวงการเลยก็มากเหมือนกัน
ที่ผู้เขียนเล่ามาทั้งหมดอาจจะไม่ใช่บทสรุปว่ามันต้องเป็นแบบนี้เพราะอาจมีหลายปัจจัย
ที่ทำให้เป็นแบบที่กล่าวมา และคำว่า fashion ก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเพราะมันขึ้นอยู่กับหลาย
ๆ ปัจจัย เช่น แนว concept กลุ่ม trend , subbrand ทั้งจังหวะและเวลาที่เหมาะสมด้วย
แต่ทีสำคัญ ผู้เขียนคิดว่าการรักษา concept ความเป็นตัวของตัวเอง ให้คงเส้นคงวา
ให้ได้นานที่สุด น่าจะดีกว่า ส่วนรูปแบบประเภท in trend
มีไว้คอยประดับร้านก็พอสักประมาณ 10 – 20 % ก็พอ เพราะกระแสเหล่านี้มักมาเร็ว
มาแรง และก็จากไปเร็วเช่นกัน ทั้งหมดที่เขียนมานี้ก็เพียงแต่อยากให้ น้อง ๆ designer ที่เริ่มมาเป็นและที่กำลังจะเป็น
ได้สำนึกไว้ในก้นบึ้งของการทำ fashion design ว่าจงรักษาตัวตนของเรา(concept) ไว้ให้ได้นานที่สุด กระแสก็คือกระแส
มันมาแล้วก็ไป แต่เราจะต้องอยู่ต่อ ไว้เจอกันเมื่อชาติต้องการ เอ๊ยไม่ใช่
ไว้เจอกันเรื่อง การวาง concept คราวหน้า