วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Be a Fashion Designer (เกริ่น ก่อน)

Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) ถ้าคุณได้ยินคำ ๆ นี้คุณจะรู้สึกหรือจิตนาการถึงมันยังไง อาจจะให้ความรู้สึกว่าเลิศหรูคิดจิตนาการไปถึงเรื่องการเดินแฟชั่นในห้างดังมี catwalk มีนางแบบตัวสูง  ๆ หุ่นผอม ๆ หน้าตาไม่เคยยิ้มเลย มาเดินให้เราดูเสื้อผ้าที่เราจินตนาการไม่ได้ว่าถ้าใส่ชุด(ไอ้)อย่าง(พรรค์)นั้น ไปเดินตามถนนทั่วไปหรือเดินไปรอรถเมล์แล้วจะโดนมองด้วยสายตาแบบไหน แบบสงสัยว่ามันบ้าหรือเปล่าวะที่ใส่ชุดอย่างนี้มาเดินถนนรอรถเมล์ แล้วเราเคยสงสัยมั้ยล่ะว่าไอ้ชุดอย่างนั้นมันเอาไว้ใช้ตอนไหน ที่ไหน ( ใครจะคิดล่ะว่าจะมีคนคิดได้ว่าเอาเนื้อวัวสดมาทำเป็นชุดให้คนใส่ได้และมีคนกล้าใส่แถมใส่อวดคนทั้งโลกอีกต่างหากเอ้อ ) กับใคร ใครๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ที่จะกล้าซื้อ หรือรู้สึกว่าเป็นคนบ้าบอออกแบบเสื้อผ้าที่คิดไม่ออกว่าจะใช้ใส่ในชีวิตประจำวันได้ยังไงเหมือนที่เราเห็นการเดินแบบของเมืองนอกในทีวี
แล้วของไทยเราจริง ๆ แล้วเป็นแบบไหน สงสัยมั๊ยล่ะ อ่านต่อไปแล้วจะได้รู้ว่าเสื้อผ้าที่เราใส่อยู่นั้นมันมีที่มาอย่างไร ยี่ห้อ(brand)ที่เราใส่อยู่ที่เจ้าของเขาอุตส่าห์ตั้งชื่อเก๋ไก๋เป็นฝรั่งอังกฤษจ๋านั้นมันเป็นของฝรั่งจริง ๆ หรือของคนไทยเมดอินไทยแลนด์ Brandอินไทยเรากันแน่ แล้วบริษัทที่ทำเสื้อผ้า Brand ไทยของจริงนั้นมันมีกี่มากน้อยกันล่ะ หน้าตา Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์)คนไทยมันหน้ายังไงแล้วใครที่ดังจริง ๆ เขาเริ่มต้นทำงานกันอย่างไรกันล่ะกว่าจะได้เสื้อผ้ามาแต่ละตัว เขาเอาไอเดียมาจากไหนกันล่ะ ลอกเมืองนอกมาหรือเปล่า เดี๋ยวจะมีมาบอกละเอียดยิ่งกว่ารายการกบนอกกะลาเสียอีก ฮ่า ๆ แล้วสินค้าที่เขาซื้อ ใบอนุญาต (Licence) การใช้ยี่ห้อ (brand) มาจากนอกนั้นเขาขายกันที่ไหนซื้อมาจากไหน
แล้วถ้าอยากเป็น Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) อยากออกแบบเสื้อผ้าแบบมืออาชีพนั้นต้องทำอย่างไร แต่บอกก่อนเลยว่าข้อมูลทั้งหมดที่ใช้เขียนใน บล็อกนี้มาจากประสบการณ์ตรงของผู้ที่ทำงานในวงการนี้มายี่สิบกว่าปี ไม่มีหนังสือให้อ้างอิง ไม่มีหลักการทางการเรียนการสอน Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) มาสักนิด ให้เอาไปอ้างอิง เพราะว่ามันมาจากประสบการณ์จริงล้วน ๆ มันจึงไม่ใช่เรื่องที่จะนำไปอ้างให้หนังสือเล่มไหนหรือสถาบันใด แต่ถ้าผู้ใดจะใช้เป็นแนวทางในการรู้จักวงการนี้ให้ดีขึ้นก็จะเป็นสิ่งที่ดีทีเดียว และมันก็ไม่ได้ต่างกันกับวงการ creativeหรือวงการมายาเท่าไหร่เพราะมันเกี่ยวข้องกัน อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะวงการมายามีดาราวงการ creative จ้างดาราไปโฆษณาสินค้าดาราใส่เสื้อผ้าที่ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) ออกแบบ จบ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้ วันนี้แค่เป็นการเกริ่นนำเดี๋ยวมาว่ากันเรื่องการเป็น Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) กันต่อในบทต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น