วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Fabrics โครงสร้างผ้า

Fabrics (โครงสร้างผ้า)
ถ้าหากว่าคุณคิดจะเป็น fashion designer เก่งๆ ในสารบบ mass product นอกจากจะมี idea ที่ดี มีฝีมือที่ดีในการวาดภาพแล้ว คุณควรจะรู้จักโครงสร้างผ้าชนิดต่าง ๆ ในสายงานของคุณ พยายามศึกษาคุณสมบัติของโครงสร้างผ้าแต่ละชนิด และ design เสื้อผ้าแต่ละแบบให้เหมาะสมกับโครงสร้างผ้านั้น ๆ ด้วย เพราะ fashion designer บางคนที่เป็น fashion designer ออกแบบเสื้อผ้าได้สวยมาก วาดรูปออกมานี่อย่างเทพ แต่พอจะเอาแบบมาทำกับเสื้อผ้ากลับไม่เหมาะสมกับโครงสร้างผ้านั้นๆ แทนที่งานจะออกมาดูดีก็กลับกลายว่าเป็นงานที่ดูแย่มาก ๆ มันจะทำให้คุณเป็นได้แค่คนวาดตุ๊กตาวาดการ์ตูนได้ดีเท่านั้นเอง หากไม่มีความรู้เรื่องโครงสร้างผ้าแล้วเราจะออกแบบเสื้อผ้าให้สวยงามได้อย่างไร หากไม่รู้จักวัสดุที่จะนำมาใช้กับงาน นี่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ fashion designer ที่ดีควรมีติดตัวไว้
ซึ่งโครงสร้างผ้านั้นก็แยกได้สองแบบคือ แบ่งตามลักษณะการถักทอ และแบ่งตามเนื้อผ้าหรือเส้นใยผ้า

ถ้าแบ่งตามลักษณะการทอนั้นจะแบ่งออกได้เป็นสามประเภทสำหรับผ้าที่คนทั่วไปรู้จัก คือ
1.     1.knitted fabrics (ผ้าถักหรือที่เรียกว่าผ้ายืดโดยทั่วไป)
2.     2.woven fabrics (ผ้าทอ)
 3.ผ้าที่ไม่ทอและถักหรือมีวิธีการผลิตอย่างอื่น


แต่สำหรับโครงสร้างผ้าสำหรับfashion designer ในหมวดของ mass product ส่วนใหญ่แล้ว ที่ใช้กันจริงๆ จะประกอบด้วย
ผ้า
ผ้า knit แบบ single jersey(ด้ายเดี่ยว)


เครื่องทอผ้า Knit
1.     knitted fabrics (ผ้าถักหรือที่เรียกว่าผ้ายืดโดยทั่วไป) ซึ่งเรียกตามลักษณะการทอนั่นเอง knit  เป็นผ้าที่เกิดจากลักษณะการทอผ้าชนิดนี้ซึ่งจะทอในลักษณะใช้เข็ม (needles) ถักเพื่อให้เกิดเป็นห่วงของด้ายที่มีการสอดขัดกัน (interlocking loops) โดยจะมีเส้นที่อยู่แนวตั้ง (Wales) และเส้นที่อยู่ในแนวนอน (courses)เป็นเส้นด้ายร้อยกันไปมาและทอ(แบบถัก)ขึ้นรูปเป็นวงกลมโดยใช้เครื่องทอผ้าแบบวงกลมซึ่งจะได้เสื้อที่ออกมาไม่มีรอยตัดด้านข้างตัวมีลักษณะเหมือนผ้าถุงหรือโสร่งที่ไม่มีรอยเย็บด้านข้าง
2.     woven fabrics (ผ้าทอ)เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอโดยใช้เครื่องทอ (weaving loom)หรือกี่นั่นเอง โดยมีเส้นยืน (warp yarn) และเส้นพุ่ง (filling or weft yarn) ที่ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน และจุดที่เส้นทั้งสองสอดประสานกัน (interlacing) จะเป็นจุดที่เส้นด้ายเปลี่ยนตำแหน่งจากด้านหนึ่งของผ้าไปด้านตรงข้าม การทอในปัจจุบันมีการพัฒนา จากการทอด้วยมือ (hand looms) ไปเป็นการใช้เครื่องจักรในการทอ โดยใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกัน เช่น Air-jet loom, Rapier loom, Water-jet loom, Projectile loom, Double-width loom, Multiple-shed loom, Circular loom, Triaxial loom เยอะแยะมากมายแต่เราเหล่าfashion designer ไม่ต้องไปสนใจเราสนใจแค่การออกแบบกับการเลือกผ้ามาใช้ก็พอแย้ว
3.     denim (ที่เหล่าคนบ้านๆ ทั่วไปเรียกว่ายีนส์แต่สำหรับfashion designerแล้วจะเรียกเสื้อหรือกางเกงที่ตัดด้วยผ้าชนิดนี้ว่า denim หรือ five pocket อย่างนี้นี่เอง)

ถ้าแบ่งตามลักษณะเนื้อผ้านั้นจะแบ่งออกได้เป็นสามประเภทเช่นเดียวกันสำหรับเนื้อผ้าที่คนทั่วไปรู้จัก คือ
1.ผ้าฝ้าย (cotton)
นิยมใช้ทำเสื้อชนิดต่างๆ มีราคาค่อนข้างสูง สมบัติทั่วไปของผ้าฝ้ายก็คือ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี
ซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย
2.ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/C หรือ TC
เป็นผ้าที่มีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ และนำเนื้อฝ้ายเข้ามาผสมรวมด้วย
คุณสมบัติก็จะอยู่กลางระหว่างผ้า cotton กับผ้า TK ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรู
เนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้า
จึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้า
จะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK)
3.ผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK
เป็นผ้าที่มีส่วนผสมหลักเป็นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้าจะมีลักษณะมันคุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตกแต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อนเนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกัน ทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด เดี๋ยวมาว่ากันเรื่องเบอร์และน้ำหนักของผ้าแต่ละชนิดในบทความหน้าครับ แหมวางภาพลำบากมากในบล็อกเลยไม่ค่อยมีตัวอย่างให้ดู

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น