วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ว่าด้วยเรื่องของผ้า knit (ผ้าถักหรือที่เรียกว่าผ้ายืดโดยทั่วไป)

          knit (ผ้าถักหรือที่เรียกว่าผ้ายืดโดยทั่วไป) 
ซึ่งจะประกอบด้วย โครงสร้างผ้าประเภท  cotton(ผ้าฝ้าย) ,T/C ( Cotton ผสม Polyester ) , T/K หรือ TK ผ้าใยสังเคาะห์ แล้วก็มาทอแบบ knit ซึ่งผ้าแบบ Knit นั้นก็มาแบ่งย่อยได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะแยกย่อยออกตามเบอร์ของเส้นด้ายที่นำมาทอวิธีการทอและน้ำหนักผ้า ซึ่งแบ่งได้ตามโครงสร้างดังต่อไปนี้
          1. jersey เป็นผ้ายืดที่เรามักจะมาทำเป็น T-shirt ตามท้องตลาดทั่วไป แถวโบ๊เบ๊หรือไม่ก็ประตูน้ำ  ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึงเสื้อยืดที่มีลายพิมพ์ที่หน้าอกหรือที่อื่นหรือจะไม่มีลายเป็นผ้าสีเดียวเลยก็เหมือนกัน จะยี่ห้ออะไรก็ตามแต่ ซึ่งแบ่งได้ตามน้ำหนักและเบอร์ของเส้นด้าย


น้ำหนักและเบอร์ของเส้นด้าย
           1.1 single jersey 32/1(หมายถึงเส้นด้ายเบอร์ 32 ส่วน /1หมายถึงทอเส้นเดี่ยว(เส้นเดี่ยวหมายถึงทอผ้าโดยใช้ด้ายเส้นเดียวในการทอ))  สำหรับผ้า single jersey 32/1 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 155-165 gram(glm) /sqm ซึ่งวิธีการชั่งน้ำหนักผ้าจะใช้วิธีใช้เครื่องปั๊มแกรมที่เป็นวงกลมตัดผ้าออกมาแล้วนำไปชั่งไม่ได้ตัดผ้าออกมาเป็นตารางเมตรแล้วนำไปชั่งนะจะเออ ถ้าน้ำหนักเบาก่วานี้มักจะมีปัญหาในการยืดหดตัวหรือย้วยชายได้ตอนตัดเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป แล้วตอนวาง marking ตัด ถ้าน้ำหนักได้ตามมาตรฐานจะ marking  ตัด T-shirt ได้ 4 ตัวต่อกิโล โดยประมาณ แล้วเวลาที่สั่งผ้าชนิดนี้ อย่าสั่งผ่าผ้าก่อน finishing  วิธีการสั่งคือ single jersey 32/1 Fully comb  ซึ่ง single jersey 32/1 นั้นเหมาะกับ รูปแบบประเภท คอกลม คอวี หรือว่าปาด  แขนสั้นหรือแขนกุดก็ได้ หรือแบบ T-shirt , innerwear พวก boxer และโครงผ้าจะออกมาเป็นทรงหลวม อย่าทำเป็นทรงรัดรูปเด็ดขาดเพราะไม่เหมาะ ซึ่งมี fashion designer ปัญญานิ่มบางคน นำผ้า single jersey 32/1 ไปออกแบบทำเป็นผ้ารัดรูป ซึ่งผลที่ออกมาก็เละสิครับ
          1.2.single jersey 32/2  ถ้าในระบบ mass product มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ เพราะว่าจะทำให้ต้นทุนสินค้าแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเป็น international brand หรือ Famous brand อาจจะเลือกใช้ผ้าชนิดนี้ได้เพราะว่ามันจะหนากว่าและดีกว่า
          1.3.single jersey 20/1 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 165-175 gram/sqm วิธีการสั่งผ้าก็วิธีการเดียวกันกับการสั่งผ้า single jersey 32/1 ให้ปริมาณเสื้อ ได้ประมาณ 3.5 ตัว ต่อกิโล โดยเฉลี่ย สำหรับแขนสั้น รูปแบบที่ใช้ก็ คอกลม คอวี คอปีน แขนสั้นแขนยาวแขนกุดก็ได้ แบบผ้าจะเป็นแบบลายพิมพ์หรือลายปักก็ได้และโครงสร้างผ้าชนิดนี้ยังสามารถทำเป็นแบบ peach dyed หมายถึงการทอผ้าแล้วนำไปย้อมสีทีหลัง หรือว่าอีกแบบก็ yarn dyed หมายถึงการย้อมเส้นด้ายก่อนนำไปทอ ซึ่งอาจทำเป็นลายริ้วหรือ ลาย stripe นั่นเอง
          1.4.Double knit 20/2  หรือก็คือผ้า jersey นั่นเองแต่เหตุผลที่เรียกว่า Double knit  20/2 เพราะว่าถ้าทอออกมาแล้วด้านหน้ากับด้านหลังจะออกมาเหมือนกัน อยากจะเรียกว่า double jersey เหมือนกันแต่ว่าไม่มี ดีไซเนอร์คนไหนเขาเรียกกัน และในวงการก็ไม่มีใครกระแดะเรียกซะด้วยหากเผลอเรียกไปคงโดนประณามแน่ๆ ปกติผ้า jersey ทั่วๆ ไปนั้น ทอออกมาแล้วผ้าสองด้านจะไม่เหมือนกันด้านหนึ่งจะดีส่วนอีกด้านก็จะไม่ค่อยดีแต่ถ้าสั่งแบบนี้มันจะออกมาเหมือนกันทั้งสองด้าน การสั่งผ้านี่หมายถึงการคุม project แล้วสั่งผ้าจากโรงงานให้โรงงานตัดเย็บเลยนะครับ  ซึ่งน้ำหนักมาตรฐานของโครงสร้างผ้าชนิดนี้จะอยู่ที่ 175-185 gram/sqm โครงสร้างผ้าชนิดนี้ เหมาะสำหรับการออกแบบในช่วงฤดูหนาวซึ่งเมืองไทยไม่ค่อยหนาวนานก็ไม่ค่อยได้เห็นกันเท่าไหร่แต่เมืองหนาวก็จะเยอะแหละ design อาจใกล้เคียงกับ single jersey 20/1 แต่จะทำเป็นแขนยาวซะมากกว่า และนอกจากนี้ยังสามารถ design เป็นแบบ dress และ short-skirt, long-skirt, mini-skirt  ได้หมด ด้วยน้ำหนักของผ้าที่มากกว่าและนุ่มกว่า เดี๋ยวก่อนจะรีบไปไหนยังไม่จบจะเดี๋ยวมาว่ากันต่อบทต่อไป รูปยังไม่ได้ลงให้ดูนะขอเวลาหาก่อน

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ ข้อมูลแน่นจริงๆ:)

Unknown กล่าวว่า...

พวกเสื้อยืด cc-oo หรือ superdry ใช้ผ้าชนิดไหนครับ :)

แสดงความคิดเห็น