วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์)

Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) นั้นหลัก ๆ ก็มีสองประเภทคือประเภทแรกเป็นแบบประจำห้องเสื้อ(Boutique)มีห้องเสื้อเป็นของตนเองซึ่งก็ต้องอาศัยฝีมือดีพอสมควรและก็ต้องมีเงินทุนมาก ๆๆๆ ไว้รองรับผัดกระเพราและข้าวผัดโอเลี้ยงในกรณีขายอะไรไม่ออก และพวกเหล่านี้นี่แหละที่มีอิสระที่จะใช้ความคิดของตนได้เต็มที่ไม่ต้องสนใจใคร สนใจแค่ว่าเดือน ๆ นึงจะขายได้หรือเปล่า(วะเนี่ย) เพราะว่าไม่ใช่ลูกจ้างใครไม่มีเงินเดือนขายไม่ได้ก็อดสิ ซึ่งงานที่ออกมาก็เปรียบเหมือนศิลปินแนว Abstrac (นามธรรม) ที่สร้างสรรค์งานออกมาเข้าใจได้ยากแต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่สนใจอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญงานเช่นนี้มักจะขายได้ในราคาสูง เช่นที่คุณเคยเห็นได้จากงาน Fashion Show ตามห้างดัง ๆ ที่ผลงานแต่ละงานคนธรรมดาไม่อาจเข้าใจได้(ต้องบ้าจริง ๆ ถึงจะเข้าใจและกล้าซื้อใส่เดิน อันนี้จากความเห็นส่วนตัว) เป็นผู้ที่ได้มีโอกาสได้สนองตอบตัณหาแห่งความคิดของตนเอง(ที่บ้าบอ) อย่างเต็มที่ได้เลยอยากทำไรทำ ว่างั้น ไม่ต้องเอาใจใครอยู่แล้วนี่ไม่มีใครมาบอกว่าดีหรือไม่ดี ถ้าไม่อยากซื้อก็ไม่ต้องซื้อ ไม่ง้อว้อย ฮ่า ๆๆ ซึ่ง Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์)ประเภทนี้แหละที่เป็นความใฝ่ฝันของ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) ประเภทที่  2
ประเภทที่ 2 เป็น แบบว่าเป็นลูกจ้างของบริษัทที่ทำเสื้อผ้าออกมาขายตามห้างต่าง ๆเรียกว่า แมสโปรดักชั่น (mass production) คือทำเสื้อผ้าออกมาขายทั่วไปตามห้างที่ละเยอะ ๆ เป็นการทำตามกระแส Fashion ในช่วงนั้นหรือตาม Fashion ที่กำลังจะมาในอนาคตอันใกล้(Trendy) ถ้าเลือกเป็นอย่างหลังนั่นหมายความว่าต้องเป็นลูกจ้างบริษัทขายเสื้อผ้าต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องพร้อมรับความเห็นของคนอื่นไม่ว่าจะถูกใจตนเองหรือไม่ก็ตาม(โดยเฉพาะความเห็นของเจ้านายยิ่งต้องรับฟังเพราะเป็นคนจ่ายเงินเดือนและโบนัสให้เรานี่หว่า) ต้องสนองตอบต่อตัณหาของเจ้านายเจ้าของเงินที่จะให้ความคิดที่บ้าบอมาให้คุณทำให้เป็นจริงให้ได้และขายได้ดีมากด้วยซึ่งการที่จะออกแบบเสื้อผ้ามาแต่ละชิ้นก็ต้องให้ถูกใจเจ้านายซึ่งบางครั้งอาจทำให้หงุดหงิดใจที่ไม่ได้ใส่ความคิดของคุณได้อย่างเต็มที่ แต่จงจำไว้ว่าขอเพียงได้ใส่ความคิดของคุณเองสักห้าสิบของเจ้านายหรือคนอื่นอีกห้าสิบ ก็ win win แย้ว (ก็เป็นลูกจ้างเขานี่นา) ซี่ง Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) ประเภทนี้ถ้าได้เป็นคนคุม Project ก็จะได้เงินเดือนสูงอยู่เหมือนกัน ห้าหมื่นถึงแสนเลยทีเดียว
การคุม Project  นั้นหมายถึงตั้งแต่การที่บริษัทได้มีความคิดที่จะสร้าง Brand ใหม่ขึ้นมาสักสิบหรือยี่สิบ Brand แล้วลองทำเสื้อผ้าตาม Brand นั้นออกมาขาย เพื่อ Testing market ซึ่งอาจมี Brand ที่ขายดีเพียงสี่ห้า Brand เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) จะต้องเป็นผู้คุมเองทั้งหมดซึ่งอาจมีคนเดียวที่เป็นหัวหน้ารองมาจากเจ้าของบริษัทเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละ Project นั้นก็มีเงินงบประมาณให้หลักสิบล้านจนถึงร้อยล้าน และ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์)  คนที่เป็นหัวหน้า นั้นถ้าเก่งจริง ๆ ก็ต้องเริ่มจากการทำบัญชีรายรับจ่าย ไปดูผ้าจากโรงงาน ออกแบบ สั่งซื้อผ้าล็อตใหญ่ ๆ (เล็กๆก็ให้ลูกน้องทำสิ จำพวก accessory น่ะ) แล้วก็สั่งโรงงานตัดเสื้ออีก แล้วต้องเก่งขนาดว่าผ้าหนึ่งตารางเมตรนั้นจะตัดเสื้อผ้าได้เท่าไหร่ได้ตัวเสื้อแขนเสื้อ คอเสื้อ เท่าไหร่ การทอผ้านั้นต้องเย็บขวางเย็บตั้งเท่าไหร่ ผ้านั้นยืดได้กี่เปอร์เซ็นต์ ชึ่งอาจรวมถึงการต้องเตรียมงาน Fashion Show อีกด้วย และอื่น ๆ อีกมากมาย ขอย้ำว่ามากกกกกกกกก ซึ่งกว่าจะจบแต่ละ Project นั้นล่ะก็ Fashion designer (แฟชั่นดีไซน์เนอร์) ที่เป็นหัวหน้าก็แทบรากเลือดกันเลยทีเดียว นอนดึกตื่นเช้าบางทีก็ที่บริษัท

แล้วถ้า Brand ไหนติดตลาดก็จะต้องคุม Brand นั้นอีกต่อไปในปีหน้า อย่าคิดว่ามันจะจบง่าย ๆ 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น